ตัววิ่ง

ยิน ดี ต้อน รับ ^^ กร๊ี๊ดดด!!

วันศุกร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556


คำที่มาจากภาษาอื่น

ในภาษาไทยมีการขอยืมคำจากภาษาอื่นๆ มากมาย เช่น ภาษาบาลี ภาษาสัมนสกฤต ภาษาเขมร เป็นต้น
คำที่มาจากภาษาอื่นเหล่านี้ จะมีหลักในการสังเกตแตกต่างกัน ทำให้เราสามารถทราบได้ว่าคำเหล่านี้มาจากภาษาใด

๑. คำที่มาจากภาษาบาลี 
ตัวอย่างคำ พุทธ ปัญญา มัจฉา บุปผา อัคคี จุฬา หทัย ทุกข์ บาป ราโชวาท มุทิตา ดาบส ชาตะ คฤหัสถ์
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๒.  คำที่มาจากภาษาสันสกฤต 
ตัวอย่างคำ เกษตร สตรี กรีฑา ครุฑ ปรัชญา ธรรม ภรรยา ราตรี ฤดี ฤทัย ราเชนทร์ กัลบก ไพศาล บาป
ข้อสังเกต  ๑)  ทั้งตัวสะกดตรงตามมาตรา และไม่ตรงตามมาตรา
                 ๒)  มีอักษรการันต์
                 ๓)  ไม่มีวรรณยุกต์ และไม่ใช้ไม้ไต่คู้
                 ๔)  มักประสมด้วยพยัญชนะ ฆ ฌ ญ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ฤ ศ ษ

๓.  มาจากภาษาเขมรตัวอย่างคำ   ฉกาจ เข็ญ จำเนียร กังวล เพ็ญ เสด็จ เจริญ ขจร ทูล
ข้อสังเกต       สะกดด้วย จ ญ ร ล
ตัวอย่างคำ   ขลัง โขน ฉลอง เสวย เขนย เฉลย
ข้อสังเกต       มักใช้คำควบกล้ำและคำที่ใช้อักษรนำ
ตัวอย่างคำ   กำจร ตำรวจ กำเนิด ดำริ บังคม จำเริญ ชำนรร
ข้อสังเกต       คำ ๒ พยางค์ มักขึ้นต้นด้วยคำว่า กำ จำ ชำ ดำ ตำ ทำ บัง

๔.  มาจากภาษาชวาตัวอย่างคำ กริช (มีดปลายแหลมมี ๒ คน), กิดาหยัน (มหาดเล็ก), บุหงา (ดอกไม้), ปั้นเหน่ง (เข็มขัด), มะงุมมะงาหรา (เที่ยวป่า)
ข้อสังเกต มักจะเป็นคำที่มีเสียงจัตวา